สิงหาคม 2007


นิตยสาร Life and Home ฉบับที่ 152
เดือนสิงหาคม 2550

เขียนบทความถึงโครงการ mini TCDC ลองอ่านดูกันได้ ที่นี่

         

          ช่วงวันที่ 5 – 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ ที่น่าจดจำของผม มันเป็นช่วงเวลาที่ผม และทีมงานของ TCDC ได้เดินทางไปยัง ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อติดตั้งอุปกรณ์และจัดหนังสือสำหรับโครงการบริการ ยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศระหว่างสถาบัน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ miniTCDC (ต่อไปนี้ผมขอเรียกโครงการนี้ว่า “โครงการ miniTCDC ” นะครับ เพราะว่าสั้น และเรียกง่ายดีครับ ) โดยจะขอสรุปขั้นตอน และกระบวนการทำงานตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้ายที่ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไว้ดังนี้ครับ

วันที่ 1 : วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2550

          ทีมงานผู้ติดตั้งออกเดินทางจากจังหวัดลำปาง มุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทางที่ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วยรถตู้ และถึงในเวลาประมาณ 13.30 น.
คณะเดินทางมีด้วยกัน 3 คน ดังนี้
1. คุณเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร           (Information Scientist)
2. คุณเมธี สันติภาพพงศา                (IT engineer)
3. คุณอัครพล จีนาคม                      (Mini Info Guru Officer)

100_3698.jpg
ด้านหน้าของห้องสมุด  ^


100_3699.jpg  
ทางเข้า และบรรยากาศภายในห้องสมุด  ^
       

          งานแรกที่เริ่มดำเนินการ คือ จัดชั้นทั้ง 5 ชั้นที่จะจัดให้บริการ miniTCDC ให้เข้าที่เข้าทาง ตามแบบที่สอดคล้องกับการใช้งานของที่นี่

100_3554.jpg  
  เอ้า !!!  ออกแรงหน่อย   ^

 113.jpg   
 ^
ชั้นที่ถูกจัดให้เข้าที่เข้าทางแล้ว         

           หลังจากที่จัดชั้นให้เข้าที่ เข้าทางแล้ว ก็ถึงคราวที่เราต้องประกอบชั้นวัสดุของ Material ConneXion Bangkok โดยการนำแผ่นความรู้ และแผ่นวัสดุติดที่ชั้นทั้ง 2 จากนั้นจึงนำกรอบของชั้นติดทับลงไป เพื่อความสวยงาม                

  

 100_3551.jpg
เช็ดซะหน่อย ^

100_3558.jpg   
 เอ้า….ติดลงไป…..ตรงรึยังน้า.. ^           

                 

     114.jpg
  
ชั้นวัสดุเมื่อประกอบเสร็จแล้ว ^

ซึ่งวัสดุทั้ง 4 ชิ้นนี้มีคุณสมบัติพอสังเขป ดังนี้ครับ

1. Crystaline Mosaics กระเบื้องโมเสก ทำจากโพลิเมอร์ วัสดุนี้ใช้ทดแทนแก้ว และเซรามิกได้
นำไปใช้บุผนังภายใน, ฉากกั้นเคาน์เตอร์ เป็นต้น

2. Metal Lath & Expanded metal ตะแกรงโลหะอย่างบาง และอย่างหนา ใช้เสริมความแข็งแรงให้ผนังปูนฉาบ และเพดาน โครงสร้างชั้นวางของ เป็นต้น

3. Visionnex แผ่นภาพกราฟฟิก 3 มิติ แผ่นภาพที่นำไปติดบนวัสดุได้หลายชนิด ให้ลวดลายที่สวยงามทั้ง 2 และ 3 มิติ

4. The Appearances Silk Worm Cocoon Hand Woven ผ้าไหมสำหรับงานตกแต่ง ผ้าไหมที่ทอขึ้นจากส่วนผสมของเปลือกไหม เหมาะสำหรับการนำไปทำโป๊ะโคมไฟ ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ และม่านในอาคาร         

          ต่อจากนั้น  พี่ฝ่ายIT  ก็เตรียมความพร้อมที่จะติดตั้งจอ Computer Touch screen เพื่อใช้สำหรับ โปรแกรม Shelves browser
          โปรแกรม Shelves Browser ก็คือ โปรแกรมช่วยค้นหาหนังสือภายในชั้นหนังสือแต่ละชั้น ซึ่งจะให้บริการในรูปแบบของคอมพิวเตอร์หน้าจอแบบสัมผัส (Touch screen) บริการนี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้เห็นภาพรวมของชั้นหนังสือ ตั้งแต่ชั้นบนสุดจนถึงชั้นล่างสุด ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นหนังสือทุกเล่มทั้งแถวพร้อมทั้งสามารถดูรายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือได้ คือ ปกหน้า หน้าชื่อ
เรื่อง สารบัญ และปกหลัง

100_3563.jpgเตรียมความพร้อมก่อนติดตั้ง

         

          จากนั้น เป็นขั้นตอนของการเตรียมพื้นที่สำหรับติดแผ่นป้ายให้ความรู้ทางด้านการออกแบบ รวมไปถึง การจัดวาง Brochure ความรู้ , ข่าวสารต่าง ๆ ของทาง123.jpg< เตรียมความพร้อมรอติดตั้ง100_3565.jpg     ติดไฟซะหน่อย                     

           ขั้นตอนต่อไปคือ การติดแผ่นป้ายให้ความรู้ทางด้านการออกแบบ รวมไปถึง การจัดวาง Brochure ความรู้ , ข่าวสารต่าง ๆ ของทาง TCDC และเรื่องการสมัครสมาชิก ไว้บนชั้นหนังสือสำหรับแจกฟรี

132.jpg  
^
 ติดตั้ง แผ่นป้ายให้ความรู้
และ Brochure สำหรับแจกฟรี
      
                              
  

142.jpg
  ภาพรวมของแผ่นป้ายให้ความรู้ และ Brochure 
  ^สังเกตด้านล่าง จะเห็นจอ Touch screen  ที่ติดตั้งเสร็จแล้ว ^
   
                 

           จากนั้นเป็นการตรวจสอบหนังสือที่ถูกส่งโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย หลังจากที่ตรวจแล้วเราได้นำหนังสือมาเรียงตามหมายเลขกล่อง เพื่อรอขึ้นชั้นต่อไป    


  100_3571.jpg
       ^ เรียงกล่องตามหมายเลข    
  dsc03095.jpg
    ^ ชั้นหนังสือที่ว่างเปล่า ก่อนที่เราจะนำหนังสือขึ้นชั้นจนเต็ม          
          

          ขั้นตอนต่อไปคือ การนำหนังสือจัดขึ้นชั้นตามหมวดหมู่ด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือ LC นั้น มีการแบ่งเนื้อหาต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์ อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ 1 ตัว คือ A-Z (ยกเว้น I,O,W,X และY) นอกจากนี้ได้มีการแบ่งเป็นหมวดย่อย (Subclass) ตามสาขาวิชา เพื่อความเฉพาะเจาะจงเรื่องนั้นๆโดยเฉพาะอีกด้วย
  152.jpg
    นำหนังสือจัดขึ้นชั้น  ^
    สังเกตให้ดีจะพบว่าพี่แอ๊ดเตรียมไฟดวงเล็ก
    สำหรับส่องที่ชั้นหนังสือไว้ให้เราเป็นอย่างดี
          
171.jpg
      ^  ภาพหลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อย  
 

162.jpg
                          ^  
อีกมุมหนึ่งครับผม    
182.jpg
      ^  ภาพชั้นหนังสืออย่างใกล้ชิด 

 191.jpg
       ^   ใกล้ ๆ  ล่ะเข้าไปอีกนิด

 100_3584.jpg
    ^   พี่แอ๊ดมาเยี่ยมชมผลงาน  v
  100_3597.jpg


 
วันที่ 2 : วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2550                    

ในวันนี้ทีมงาน TCDC มีเจ้าหน้าที่ตามมาสมทบอีก 2 คน คือ คุณสุภาพร สมจิตต์
และคุณสิริรัตน์ สิริพักตร์ จากนั้นทีมงานทั้ง 5 คน ได้เดินทางมาถึงห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในเวลาประมาณ 9.00 น.
          งานแรกคือการปรึกษากับพี่แอ๊ด ในเรื่องของสถานที่ที่จะติดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ miniTCDC
                             
             100_3694.jpg
  ^  พี่แอ๊ดบอกว่าจะนำป้ายนี้ไปติดที่ด้านนอกของตัวอาคาร 

  201.jpg     
 ด้านนอกของอาคาร     ^                                                
212.jpg
       คาดว่าจะติดบริเวณใต้สปอทไลท์  ^
         
 

จากนั้นติดป้าย Tabula ขนาดใหญ่ ที่ข้างเสา         100_3716.jpg                                           222.jpg
    ^ 
ป้าย Tabula แบบชัด ๆ       
           

          หลังจากนั้น เป็นการอบรมบรรณารักษ์ และน้อง ๆ ที่มาช่วยงานห้องสมุด ซึ่งเนื้อหาของการอบรม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ miniTCDC ไม่ว่าจะเป็น การอบรมการเก็บสถิติการใช้หนังสือรายวัน, การอบรมการใช้โปรแกรม Shelves browser, การอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ของ TCDC, การอบรมการใช้ Database (MCB ABM DAAI GMID), การอบรมบริการยืม-คืนระหว่างห้องสมุด, การอบรมการใช้ Blog เป็นต้น

dsc03129.jpg   
การอบรมบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ^

dsc03133.jpg
                 ^  อีกมุมหนึ่งครับผม

dsc03145.jpg
^   อบรมการใช้โปรแกรม Shelves browser

dsc03153.jpg
อบรมการใช้โปรแกรมเก็บสถิติการใช้หนังสือ  ^

dsc03148.jpg
ธงประชาสัมพันธ์ซึ่งแต่เดิมตั้งไว้ในห้องสมุด
 
    

 231.jpg
^ 
จากนั้นได้ย้ายลงมาที่ ทางขึ้นห้องสมุดครับ

  100_3739.jpg
บอร์ดประชาสัมพันธ์ซึ่งทางห้องสมุดจัดทำไว้  ^    
  
          

          และแล้วก็ถึงเวลาที่เราต้องลากลับ สุดท้ายนี้ทางทีมงาน TCDC ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านในความเอื้อเฟื้อ ตลอดระยะเวลาที่พวกเราทำงานกันครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงานในโครงการ miniTCDC นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจจะได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มที่ ขอขอบพระคุณครับ.    

    การเดินทางติดตั้ง mini TCDC ที่ห้องสมุดคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                                            ………………………………


    เมื่อวันที่13-16 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ทีมงานจาก TCDC ได้เดินทางไปยัง ห้องสมุดคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้เดินทางไปติดตั้ง miniTCDC เป็นแห่งที่ 4 ต่อจากที่
ชลบุรี ลำปาง และเชียงใหม่ โดยที่จะมีข้อมูล และภาพการไปติดตั้งครั้งนี้ เพื่อนำเสนอไว้ดังนี้
ออกเดินทาง วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2550 ทีมงานที่ไปในวันนี้ประกอบไปด้วย
1. คุณเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร (Information Scientist)
2. คุณเกรียงศักดิ์ สุทธินราธร (IT Manager)
3. คุณวัชชพล หรั่งแพ (Mini Info Guru Officer)

   นัดรวมตัวกันก่อนที่ TCDC ตั้งแต่เวลาก่อน 8.00 น. มีการเตรียมและเช็คสัมภาระให้แน่ใจ และพร้อม ก่อนที่จะออกเดินทางโดยรถยนตร์ ไปที่สนามบินดอนเมือง เวลา 11.20 น.เป็นเวลาขึ้นเครื่อง ใช้เวลาบนเครื่อง 55 นาที สู่สนามบินจังหวัดขอนแก่น เข้าเช็คอินที่โรงแรม ก่อนที่จะนั่งรถต่อไปยังมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตรงดิ่งไปที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ทันที…ไปกันเลย
17.jpg

21.jpg

    เมื่อทางทีมงานมาถึงก็เริ่มงานทันที่ โดยอย่างแรกต้องไปติดต่อประสานงานกับทางอาจารย์ ซึ่งก็ได้พบ อาจารย์ขาม จาตุรงคกุล และ อาจารย์กษม อมันตกุล รอต้อนรับอยู่แล้ว
ก่อนอื่น ต้องเช็คของที่ได้ส่งมาก่อนว่าครบ มีอะไร เสียหายระหว่างขนส่งหรือเปล่า

3.jpg

• ตู้ชั้นหนังสือที่ทำการแพ็คมา รอการติดตั้ง

51.jpg

• มาพร้อมกับกล่องที่บรรจุหนังสืออยู่ภายใน

    เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็ถึงเวลาลงมือกันแล้ว… มาแค่ 3 คน กว่าจะเสร็จคงเหนื่อย เลยได้ทั้งน้องๆนักศึกษา และแม่บ้าน มาช่วย… งั้นลงมือกันเลย.!!!
โดยอย่างแรกได้ทำการเอาพลาสติกที่หุ้มตัวชั้นออกก่อน แล้วจึงความสะอาด จากนั้นค่อยเอาหนังสือขึ้นมาจัดเรียง

ภาพบรรยากาศการติดตั้ง

6.jpg

8.jpg

9.jpg

• จัดหนังสือเรียงตาม Call Number โดยมีป้ายสำหรับบอกว่าหนังสือกลุ่มนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร เพื่อให้ง่ายต่อการใช้

10.jpg

• ทำติดตั้งเครื่อง Touch screen เพื่อใช้สำหรับ โปรแกรม Shelves browser

    โปรแกรม Shelves Browser คือ โปรแกรมช่วยค้นหาหนังสือภายในชั้นหนังสือแต่ละชั้น ซึ่งจะให้บริการในรูปแบบของคอมพิวเตอร์หน้าจอแบบสัมผัส บริการนี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้เห็นภาพรวมของชั้นหนังสือ ตั้งแต่ชั้นบนสุดจนถึงชั้นล่างสุด ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นหนังสือทุกเล่มทั้งแถวพร้อมทั้งสามารถดูรายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือได้ คือ ปกหน้า หน้าชื่อเรื่อง สารบัญ และปกหลัง

111.jpg

• มุมมองจากภายนอก ระหว่างการติดตั้ง

    นอกจาก หนังสือแล้วเราได้จัดชั้นของ Material ConneXion Bangkok ที่ได้จัดเตรียมตัวอย่างวัสดุของไทยไว้ให้ศึกษา อีกด้วย

121.jpg

img_01911.jpg

    โดยวัสดุที่นำมาครั้งนี้จะมีด้วยกัน 4 ชิ้น ได้แก่
1. Plant Cloth ผ้าบุจากใยธรรมชาติ
2. Rubber Foam Material โฟมยางธรรมชาติ
3. Crystaline Mosaics กระเบื้องโมเสคทำจากโพลิเมอร์
4. Teak Woodmat เสื่อไม้สัก

141.jpg

• ได้มีการติดโปสเตอร์ และมีโบรชัวร์ที่เกียวกับ TCDC รวมถึงกิจกรรม และนิทรรศการต่างๆที่จะจัดขึ้น ให้ทางminiTCDC ได้รับข่าวสารด้วย

dsc00010.jpg

• ก้ได้ภาพที่พร้อมใช้งานอย่างที่เห็น

มุมต่างๆของชั้น miniTCDC

161.jpg

18.jpg

    ส่วนวันที่ 14 กรกฏาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่ 2 แล้ว
    ได้มีการมาอบรม วิธีการใช้ Shelves browser โปรแกรม In-house use วิธีการจัดเรียงหนังสือ การสืบค้นผ่านทาง Website ของ TCDC การใช้แบบฟอร์มต่าง ๆ และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของทาง TCDC ผ่านทาง miniTCDC Blog

img_0224.jpg

55.jpg

• อาจารย์และน้อง ๆ นักศึกษาที่มาช่วยงาน มาเข้าฟังการอบรม

22.jpg     211.jpg 

• อาจารย์และ น้อง ๆ ลองทำดูด้วย

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2550 ทีมงานเราสำรวจพื้นที่ดดยรอบมหาวิทยาลัย ตามคำแนะนำของอาจารย์

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ได้มีคณะจาก TCDC มาเพิ่ม 3 ท่าน คุณทรงพันธ์ เจิมประยงค์ (วิทยากร) คุณสุภาพร สมจิตต์ (Chief Librarian) และคุณสิริรัตน์ สิริภักดิ์ (Project Manager miniTCDC) เนื่องจาก วันนี้มีการบรรยายเรื่อง Library 2.0 : จากแนวคิดสู่การประยุกต์ใช้งานจริง ที่ สำนักวิทยบริการ โดยคุณทรงพันธ์และคุณเลอชาติ มีผู้เข้าร่วมฟังตั้ง 143 คนแน่ะ มีทั้งมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม บรรยายเริ่มเวลาประมาณ 10.00 น. โดยกล่าวถึงความสำคัญของการบริหารจัดการองค์ความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาช่องทางการเผยแพร่ความรู้สู่อินเทอร์เน็ต โดย TCDC ได้พัฒนาแนวคิด หลักการ Library 2.0 มาประยุกต์ใช้กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จนประสบความสำเร็จ จึงประสงค์จะเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวออกไปสู่บรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ตลอดจนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ แนวคิดใหม่ๆ ทันต่อความก้าวหน้าในวิทยาการที่เป็น มาตรฐานสากล ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระหว่างเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อการพัฒนางานวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมในอนาคต
    หลังจากอยู่ร่วมพิธีเปิดการบรรยายเรียบร้อย คุณสิริรัตน์ คุณเกรียงศักดิ์ และคุณวัชชพล ก็ได้แยกไปสำรวจสถานที่ที่จะใช้ในการถ่ายทอดสดการบรรยายทีจะจัดขึ้นที่ TCDC เพื่อให้ทาง miniTCDC ที่นี่ได้รับชมไปพร้อมๆ กับทาง TCDC ของเราด้วย 

25.jpg • มีการลงทะเบียนก่อนเข้า

26.jpg    • คุณเลอชาติ และคุณทรงพันธ์ เตรียมความพร้อมก่อนการบรรยาย

28.jpg   27.jpg

• คณะอาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจเริ่มทยอยมาจับจองที่นั่ง

29.jpg

โดยมีท่านอาจารย์ สุวรรณา ทองสีสุขใส มาเป็นประธานในการบรรยายครั้งนี้

บรรยากาศระหว่างการบรรยาย

30.jpg

31.jpg • คุณสุภาพร ร่วมบรรยายเสริม

32.jpg 33.jpg

• เปิดให้ผู้ร่วมฟังการบรรยายได้มี
โอกาสได้ซักถาม เรื่องที่สงสัยในช่วงท้าย

34.jpg

• ท่านอาจารย์ สุวรรณา ทองสีสุขใส มอบของที่ระลึกให้กับทางวิทยากรของเรา เป็นการจบการบรรยายในครั้งนี้

    แล้วในคืนเดียวกันทางคณะของเราก็ได้เดินทางกลับจากจังหวัดขอนแก่น สู่กรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ ต้องขอขอบคุณคณะอาจารย์ น้อง ๆ นักศึกษา และบุคคลากร ภายในมหาวิทยาลัย ที่ให้ความร่วมมือในทุกๆด้าน ภาพเหล่านี้จะอยู่ภายในความทรงจำของเราตลอดไป.. ซึ่งทางเราTCDC ก็หวังเป็นอย่างยิ่งให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จ เป็นแหล่งที่กระตุ้นต่อมคิด ให้นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้นำความรู้ที่ได้นี้ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป…(“ขอบคุณครับ”..ble)

          ช่วงวันที่ 3 – 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ ที่น่าจดจำของผม  มันเป็นช่วงเวลาที่ผม และทีมงานของ TCDC ได้เดินทางไปยัง ห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เพื่อติดตั้งอุปกรณ์และจัดหนังสือสำหรับโครงการบริการ ยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศระหว่างสถาบัน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ miniTCDC  (ต่อไปนี้ผมขอเรียกโครงการนี้ว่า โครงการ miniTCDC    นะครับ เพราะว่าสั้น และเรียกง่ายดีครับ )   โดยจะขอสรุปขั้นตอนและกระบวนการทำงาน ตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้ายที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์ลำปาง   ไว้ดังนี้ครับ 

วันที่ 1  :  วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2550

          ทีมงานผู้ติดตั้งออกเดินทางจากกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าสู่จังหวัดลำปางด้วยสายการบิน PB Air ในเวลา 9.30 น.ทั้งหมด 4 คนดังนี้         
1.คุณสุภาพร  สมจิตต์                (Chief Librarian)         
2.คุณเลอชาติ  ธรรมธีรเสถียร       (Information Scientist)         
3.คุณเมธี  สันติภาพพงศา           (
IT engineer)         
4.คุณอัครพล  จีนาคม                (
Mini Info Guru Officer)                   
         
และในเวลาประมาณ 11.00 น. พวกเราก็ได้เดินทางถึงห้องสมุดมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์    ศูนย์ลำปาง อย่างปลอดภัย

11.jpg


          งานแรกที่เริ่มดำเนินการ คือ  สำรวจพื้นที่ที่จะจัดให้บริการ miniTCDC  ซึ่งต่อจากนี้เราจะต้องนำชั้นหนังสือ 3 ชั้น  และชั้นวัสดุ 2 ชั้น มาจัดให้บริการในส่วนนี้

100_3452.jpg


          หลังจากสำรวจพื้นที่ และออกแบบมุมที่จะจัดวางชั้นต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวที่เราจะต้องนำชั้นมาวางกันจริง ๆ ล่ะครับ

ภาพชั้นที่ถูกส่งมาโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย 
 100_3456.jpg

แกะพลาสติกเรียบร้อยแล้ว เตรียมขนย้าย
100_3462.jpg

         
          จากนั้นเราก็ได้ขนย้ายชั้นทั้งหมดเข้าสู่ห้องสมุด และจัดวางในแบบที่เราดีไซน์ไว้  เมื่อเราจัดชั้นต่าง ๆ เข้าที่เข้าทางแล้ว ก็ถึงคราวที่เราต้องประกอบชั้นวัสดุของ
 Material ConneXion Bangkok  โดยการนำแผ่นความรู้ และแผ่นวัสดุติดที่ชั้นทั้ง 2  
จากนั้นจึงนำกรอบของชั้นติดทับลงไป เพื่อความสวยงาม

dsc02988.jpg

 

 

ชั้นวัสดุเมื่อประกอบเสร็จแล้ว 

100_3496.jpg

ซึ่งวัสดุทั้ง 4 ชิ้นนี้มีคุณสมบัติพอสังเขป ดังนี้ครับ

1.  Visionnex    แผ่นภาพกราฟฟิก 3 มิติ  แผ่นภาพที่นำไปติดบนวัสดุได้หลายชนิด ให้ลวดลายที่สวยงามทั้ง 2 และ 3 มิติ

2. CVS organic cotton canvas ผ้าฝ้ายผสมฝ้ายอินทรีย์ เป็นผ้าที่ทอจากเส้นใยฝ้ายอินทรีย์ และเส้นใยฝ้ายธรรมดา เหมาะสำหรับเป็นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์, รองเท้า, กระเป๋า เป็นต้น

3. Plant Cloth ผ้าบุจากใยธรรมชาติ เป็นสิ่งทอที่มีส่วนผสมของเส้นใยสมุนไพร ทอจากต้นกระทือ 90 % + ฝ้าย 10 % เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน เช่น ทำผ้าม่าน,เฟอร์นิเจอร์

4. Crystaline Mosaics กระเบื้องโมเสก ทำจากโพลิเมอร์ วัสดุนี้ใช้ทดแทนแก้ว และเซรามิกได้ นำไปใช้บุผนังภายใน, ฉากกั้นเคาน์เตอร์ เป็นต้น 

  

 

110.jpg

210.jpgตัวอย่างวัสดุ

 

          จากนั้นเราได้ตรวจสอบหนังสือที่ถูกส่งโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย หลังจากที่ตรวจแล้วขั้นตอนต่อไปคือ การนำหนังสือจัดขึ้นชั้นตามหมวดหมู่ด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน

dsc02990.jpg

เตรียมชั้นหนังสือให้พร้อมก่อนนำหนังสือขึ้นชั้น210.jpg

 

dsc02976.jpg

210.jpgหนังสือที่ถูกส่งโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย

 

          ในระหว่างที่ผมกำลังจัดหนังสือขึ้นชั้นอยู่นั้น พี่ ๆ ฝ่ายIT ก็กำลังง่วนอยู่กับการติดตั้งจอ Computer Touch screen เพื่อใช้สำหรับ โปรแกรม Shelves browser
          โปรแกรม Shelves Browser ก็คือ โปรแกรมช่วยค้นหาหนังสือภายในชั้นหนังสือแต่ละชั้น ซึ่งจะให้บริการในรูปแบบของคอมพิวเตอร์หน้าจอแบบสัมผัส (Touch screen) บริการนี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้เห็นภาพรวมของชั้นหนังสือ ตั้งแต่ชั้นบนสุดจนถึงชั้นล่างสุด ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นหนังสือทุกเล่มทั้งแถวพร้อมทั้งสามารถดูรายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือได้ คือ ปกหน้า หน้าชื่อเรื่อง สารบัญ และปกหลัง

 

35.jpg
จอ Computer Touch screen ที่ติดตั้งเข้ากับชั้นหนังสือแล้ว

                                                    

 

100_3499.jpg

                                       210.jpgอีกมุมหนึ่งของ Shelves Browser

 

          ขั้นตอนต่อไปคือ การติดแผ่นป้ายให้ความรู้ทางด้านการออกแบบ รวมไปถึง การจัดวาง Brochure ความรู้ , ข่าวสารต่าง ๆ ของทาง TCDC และเรื่องการสมัครสมาชิก ไว้บนชั้นหนังสือสำหรับแจกฟรี

100_3467.jpg
แผ่นป้ายให้ความรู้ และ Brochure
สำหรับแจกฟรี 210.jpg
 

dsc02993.jpg
ภาพมุมกว้างของ
แผ่นป้ายให้ความรู้ และ Brochure 210.jpg

 

 

จากนั้นติดป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ ที่ด้านข้างชั้นหนังสือ

43.jpg

 

 

52.jpg
210.jpgภาพมุมกว้างของ ป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาดใหญ่

 

100_3534.jpg ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย

วันที่ 2 : วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2550

          หลังจากที่เมื่อวานนี้เราได้เหน็ดเหนื่อยกันไปแล้วกับการติดตั้ง miniTCDC ก็มาถึงวันที่ 2 ของการทำงาน วันที่เป็นการอบรมบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ miniTCDC ไม่ว่าจะเป็น การอบรมการเก็บสถิติการใช้หนังสือรายวัน, การอบรมการใช้โปรแกรม Shelves browser, การอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ของ TCDC, การอบรมการใช้ Database (MCB ABM DAAI GMID), การอบรมบริการยืม-คืนระหว่างห้องสมุด, การอบรมการใช้ Blog เป็นต้น

dsc03020.jpg
ภาพการอบรมบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 210.jpg

         

          จากนั้นในตอนบ่าย ได้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สนใจใน miniTCDC มาร่วมฟังการอบรมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ TCDC จะเน้นในเรื่องของ การใช้โปรแกรม Shelves browser ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาโดยตรง

dsc03024.jpg

วันที่ 3 : วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2550

          วันนี้ถือเป็นวันจากลา เวลา 10.00 น. เราทั้ง 3 คน ได้เดินทางมาดู miniTCDC ประจำห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อีกครั้งหนึ่ง ก่อนออกเดินทางผมก็เลยขอเปรียบเทียบภาพก่อน และหลังการติดตั้งมาให้ดูกันเล่น ๆ ครับ

dsc02975.jpg
Before

 

100_3534.jpg

After

 

          หลังจากได้กล่าวอำลาพี่ ๆ บรรณารักษ์แล้ว เราก็พบกับธงประชาสัมพันธ์ miniTCDC ที่ด้านหน้าของอาคารห้องสมุด ก็เลยเก็บภาพมาฝากกันครับ

100_3524.jpg

 

          นอกจากนี้แล้ว ทางห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ยังได้ติดป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ miniTCDC ไว้ประตูทางด้านหน้าของมหาวิทยาลัยด้วยครับ

100_3537.jpg

 

สุดท้ายนี้ทางทีมงาน TCDC ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านในความเอื้อเฟื้อ ตลอดระยะเวลาที่พวกเราทำงานกันครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงานในโครงการ miniTCDC นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจจะได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มที่

ขอขอบพระคุณครับ.

 

 

การเดินทางติดตั้ง mini TCDC ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

            ย้อนกลับไปตั้งแต่วันที่ 25 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ทีมงานจาก TCDC ได้เดินทางไปยัง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เพื่อติดตั้งอุปกรณ์และจัดหนังสือสำหรับโครงการ mini TCDC ซึ่งสำหรับการเดินทางไปติดตั้งที่ ม.บูรพาครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการเปิดตัวสำหรับโครงการใหม่จากทาง TCDC ก็ว่าได้ โดยจะขอสรุปขั้นตอนและกระบวนการทำงาน ตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้ายที่ ม.บูรพา ไว้ดังนี้ค่ะ

วันแรก 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ทีมงานผู้ติดตั้งงานออกจาก TCDC ด้วยรถตู้ ในเวลาประมาณ 9.00 น. โดยรวบรวมกำลังพลไปถึง 9 คนด้วยกัน ประกอบด้วย                                                                                                                                                                       
1.คุณสุภาพร สมจิตต์ (Chief Librarian)
2.คุณเกรียงศักดิ์ สุทธินราธร (IT Supervisor)
3.คุณเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร (Information Scientist)
4.คุณเมธี สันติภาพพงศา (IT engineer)
5.คุณฆฤณ กังวานกิตติ (Facilities Management Architect)
6.คุณธฤตวัย ไชยวสุ (Info Guru Officer)
7.คุณมานิดา พากเพียร (Info Guru Officer)
8.คุณอัครพล จีนาคม (Mini Info Guru Officer)
9. คุณวัชชพล หรั่งแพ(Mini Info Guru Officer)

และในเวลาประมาณ 10.15 น. ได้เดินทางถึง สำนักหอสมุด ม.บูรพา

            งานแรกที่เริ่มดำเนินการคือ ช่วยพี่ๆบรรณารักษ์ปรับมุมหนังสือเดิมของ ‘SET’ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อน เพื่อจะได้มีพื้นที่ในการวางชั้นหนังสือของ mini TCDC   

                                                       

ภาพก่อนเคลื่อนย้าย
มุมหนังสือชุด “SET” เดิมก่อนการติดตั้งชั้นหนั้งสือ mini TCDC

 ภาพหลังเคลื่อนย้าย

หลังจากปรับเปลี่ยนมุมหนังสือของ ‘SET’ เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวของการวางชั้นหนังสือของ
mini TCDC

   

            จากนั้น ก็เริ่มการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น รวมทั้งชั้นของ Material ConneXion Bangkok ด้วย  สำหรับวัสดุที่ทาง MCB จัดเตรียมไว้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาและบุคลากรนั้น มี 4 วัสดุที่น่าสนใจ ดังนี้

1. Art Wood
(แผ่นพาร์ติเคิลบอร์ดจากวัสดุธรรมชาติเหลือใช้)

2. Rubber Foam Material
(โฟมยางธรรมชาติ)

3. Crystal Mosaics
(กระเบื้องโมเสคทำจากโพลิเมอร์)

4. Metal Lath & Expanded Metal
(ตะแกรงโลหะอย่างเบาบางและตะแกรงโลหะอย่างหนา)

ตัวอย่างวัสดุแบบใกล้ชิด

 

ติดแผ่นป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์ รวมไปถึง Brochure ข่าวสารต่าง ๆ ของทาง TCDC และเรื่องการสมัครสมาชิก

ติดตั้งเครื่อง Touch screen เพื่อใช้สำหรับ โปรแกรม Shelves browser

 

            โปรแกรม Shelves Browser คือ โปรแกรมช่วยค้นหาหนังสือภายในชั้นหนังสือแต่ละชั้น ซึ่งจะให้บริการในรูปแบบของคอมพิวเตอร์หน้าจอแบบสัมผัส (Touch screen) บริการนี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้เห็นภาพรวมของชั้นหนังสือ ตั้งแต่ชั้นบนสุดจนถึงชั้นล่างสุด ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นหนังสือทุกเล่มทั้งแถวพร้อมทั้งสามารถดูรายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือได้ คือ ปกหน้า หน้าชื่อเรื่อง สารบัญ และปกหลัง

ติดป้าย Banner ขนาดใหญ่ ที่ด้านข้างชั้นหนังสือ

 

            สำหรับหนังสือ ทางม. บูรพา เห็นว่าควรจะมีระบบป้องกันหนังสือด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยเสริมความปลอดภัยของหนังสือ mini TCDC (ขอบคุณค่ะ ^_^)  

รูปขั้นตอนในการจัดเรียงหนังสือ  

   

            เมื่อนำหนังสือออกมาจากกล่องแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของพี่ๆบรรณารักษ์ทางสำนักหอสมุดดำเนินการป้องกันหนังสือด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์

             

 เมื่อเสร็จกระบวนการด้านความปลอดภัยแล้ว นำหนังสือใส่รถเข็น เรียงตามเลขเรียกหนังสือเพื่อให้สะดวกในการจัดเรียง ซึ่งการเรียงหนังสือของทาง TCDC นั้นจะใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน หรือแบบ LC โดยจะแตกต่างกับของทางม. บูรพา ที่จัดเรียงแบบระบบทศนิยมดิวอี้ หรือ DDC  

            การจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน หรือ LC นั้นมีการแบ่งเนื้อหาต่างๆ โดยใช้สัญญลักษณ์ อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ 1 ตัว คือ A-Z (ยกเว้น I,O,W,X และY)  นอกจากนี้ได้มีการแบ่งเป็นหมวดย่อย (Subclass) ตามสาขาวิชา เพื่อความเฉพาะเจาะจงเรื่องนั้นๆโดยเฉพาะอีกด้วย

บรรยากาศตอนเรียงหนังสือ

 

ชั้นหนังสือ mini TCDC หลังจากที่จัดเรียงเรียบร้อยแล้ว

อีกมุมหนึ่งของชั้นหนังสือ mini TCDC

วันที่สอง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

            ทีมงานของ TCDC ส่วนหนึ่งได้เดินทางกลับ แต่ยังมีทีมงานของเราอีก 4 คนสำหรับในวันนี้  งานหลัก ๆ แล้วคือการอบรมส่วนงานและโปรแกรมการใช้งานต่าง ๆ ของ mini TCDC ให้กับพี่ๆบรรณารักษ์ของสำนักหอสมุด

เริ่มมีน้อง ๆ นักศึกษามาสนใจ

          แต่ก่อนที่จะมีการบรรยายเกิดขึ้น ทีมงาน TCDC ก็นำป้ายบอกเลขเรียกหนังสือ และคำสำคัญ (Subject) มาติดไว้ตามชั้นหนังสือต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาและผู้สนใจที่มาใช้งานหาหนังสือได้ง่ายขึ้น และยังสะดวกในการเก็บของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดด้วย

  

ซูมเข้าไปดูหน่อย

            เวลาประมาณ 15.00 น. ทีมงาน TCDC เริ่มการบรรยายด้วยการเกริ่นนำของผู้อำนวยการสำนัก หอสมุด ดร. ขวัญชฎิล จากนั้นคุณเลอชาติ นักสารสนเทศ ของ TCDC ได้เล่าความเป็นมาของโครงการ mini TCDC รวมถึงขั้นตอนการทำงานจนกระทั่งได้มาเป็น mini TCDC 

            จากนั้น คุณ ธฤตวัน ไชยวสุ และคุณมานิดา พากเพียร ก็บรรยายส่วนงานต่าง ๆ ที่ทางบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุดจะต้องทราบ เช่น การจัดเรียงหนังสือ การสืบค้นผ่านทาง Website ของ TCDC การใช้แบบฟอร์มต่าง ๆ และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของทาง TCDC ผ่านทาง mini TCDC Blog ซึ่งก็คือช่องทางนี้นั่นเอง รวมไปถึงโปรแกรมการใช้งานภายในโครงการ mini TCDC เช่น โปรแกรม Shelves browser โปรแกรม In-house use เป็นต้น

รูปบรรยากาศภายในห้องบรรยายค่ะ

 

 

            เมื่อเสร็จสิ้นการบรรยายแล้ว ทีมงาน TCDC ก็พาพี่ๆบรรณารักษ์สำหนักหอสมุด ม.บูรพา เยี่ยมชมชั้นหนังสือโครงการ mini TCDC ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดีทีเดียว

            จากนั้น ก็ให้ทดลองใช้โปรแกรมต่าง ๆ และตอบข้อซักถามเพิ่มเติม อีกทั้งตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์และการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น

วันสุดท้าย 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550
             เมื่อทีมงานจาก TCDC ได้ก้าวเข้ามาในห้องสมุดเพื่อตรวจสอบความพร้อมของระบบและการทำงานในขั้นสุดท้าย ก็ได้พบกับมุม mini TCDC ที่สวยงามมากขึ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณพี่ๆบรรณารักษ์ทางสำนักหอสมุด ม. บูรพาเป็นอย่างมากในการจัดโต๊ะและเก้าอี้เป็นเหมือน Partition กั้นพื้นที่ไว้ให้ใช้หนังสือของ mini TCDC เป็นส่วน ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อสามารถควบคุมการใช้หนังสือได้ และสามารถเก็บสถิติได้แน่นอนมากขึ้น อีกทั้งยังทำป้ายบอกสำหรับผู้ที่สนใจใช้หนังสือของ mini TCDC ว่า…

บรรยากาศโดยรวมค่ะ

มีโต๊ะไว้วางหนังสือที่ใช้เสร็จแล้วด้วย

            นอกจากนี้แล้ว ทางสำนักหอสมุด ม.บูรพายังได้ติดป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการ
mini TCDC ไว้บริเวณด้านหน้าทางเข้าสำนักหอสมุดด้วยค่ะ

            ท้ายนี้ทางทีมงาน TCDC ต้องขอขอบคุณทุกท่านในความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ตลอดระยะเวลาที่พวกเราย้ายที่ทำงานไปอยู่ที่ ม.บูรพา เป็นการชั่วคราว และขอขอบคุณสำหรับโอกาสที่มอบให้พวกเราได้เข้าถึงผู้ใช้ในอีกมุมเมืองหนึ่ง ความอบอุ่นยังคงครุกรุ่นอยู่ในใจทีมงานของพวกเราทุกคน ขอบคุณมากค่ะ (^_^)